วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

1. ความปลอดภัยในด้านปกป้องข้อมูลเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต



https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhcll7w_yfZwTNZPNr2m4GfoTkGhv8y3dKBhplZkRUIrnBieWO3PQAvB0oBZLwuceu0gs9bG-38uiK3wi_vH5IjLKeKUVrZ79vJob_FSJFnk6E5cfhIBcw5uqp9bTU9aogZgs1E5Dmow2KY/s1600/images.jpg

   ปัจจุบันมีเครื่องที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทรัพย์สมบัติทางด้านข้อมูลจำนวนมากอยู่บนเครือข่ายเหล่านั้นซึ่งบนอินเทอร์เน็ต มีระบบที่ใช้ป้องกันไม่พอเพียงรวมทั้งผู้ไม่พอในการป้องกันตัวเองจากการถูกโจมตีจากผู้อื่นเช่นกัน ระบบของเราอาจจะโดนโจมตีได้ทั้งนี้เพราะการโจมตีเหล่านั้นมีเครื่องมือช่วยมากและหาได้ง่ายมาก ตัวอย่างการโจมตีอาจจะมาจากวิธีการต่างๆ อีกมากมาย เช่น
- Denial of Service คือการโจมตี เครื่องหรือเครือข่ายเพื่อให้เครื่องมีภาระงานหนักจนไม่สามารถให้บริการได้ หรือทำงานได้ช้าลง
- Scan คือวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติหรือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อ Scan สู่ระบบหรือหาช่องจากการติดตั้งหรือการกำาหนดระบบผิดพลาด
- Malicious Code คือการหลอกส่งโปรแกรมให้โดยจริงๆ แล้วอาจเป็นไวรัส เวิร์ม ปละม้าโทรจันและถ้เรียกโปรแกรมนั้น โปรแกรมที่แอบซ่อนไว้ก็จะทำงานตามที่กำาหนด เช่น ทำลายข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หรือเป็นจุดที่คอยส่งไวรัส เพื่อแพร่ไปยังที่อื่นต่อไปเป็นต้น
   จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เครือข่ายที่เราใช้งานอาจมีลักษณะที่เรียกว่าเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) ควรมีการป้องกันตนเองจากการโจมตีดังกล่าว ได้หลากหลายวิธี เช่น การดูแลและจัดการกับ Cookies การป้องกัน Malicious Code เช่น ไวรัส และ การใช้ Firewall

2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Viruses)

   หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งที่มนุษย์เขียนขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการทำงานหรือทำาลายข้อมูลรวมถึงแฟ้มข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะการติดต่อของไวรัคอมพิวเตอร์ คือไวรัสจะนำาพาตังเองไปติด (Attach) กับโปรแกรมดังกล่าวก็เป็นเสมือนโปรแกรมพาหะในการพาไวรัสแพร่กระจายไปยังโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งแพร่กระจายในระบบเครือข่ายต่อไป
   ไวรัสคอมพิวเตอร์มีหลายสายพันธุ์ แต่ละชนิดต่างก็มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน อาทิเช่น
- ไวรัสบางสายพันธุ์จะทำการนำขยะหรือข้อมูลอื่นๆ ไปซ้อนทับข้อมูลเดิมบางส่วนที่ถูกต้องอยู่แล้วในแฟ้มข้อมูลหนึ่ง ๆ ทำให้แฟ้มข้อมูลเดิมผิดเพี้ยนไปจากเดิม
- ไวรัสบางชนิดจะทำการควบคุมการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แทนระบบเดิม โดยกำหนดให้ระบบปฏิบัติการหยุดการทำงานบางหน้าที่ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์
- ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดจะทำการเพิ่มเติมบางคำสั่ง (Embedded Commands) ลงในโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบปฏิบัติการแสดงผลเป็นข้อความอันเป็นเท็จทางจอภาพ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทำอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบฯ ได้
- ไวรัสบางสายพันธุ์จะทำการเปลี่ยนข้อมูลจำนวนเล็กน้อยในโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลหนึ่งๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจำนวนน้อยนี้จะทำให้เจ้าของไม่รู้สึกว่าแฟ้มข้อมูลของตนได้รับเชื้อไวรัสเป็นที่เรียบร้อย เมื่อมีการใช้แฟ้มหรือสำเนาแฟ้มดังกล่าวไปยังมี่อื่นๆ ก็จะส่งผลให้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นได้รับเชื้อไวรัสไปด้วย
 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjwRk-P3TV9Mwd7NkR-hFpVKpW4vmQGqH60akN68RtMLf_cqpy4hDQdZfSbdn5qZHsSoNKpdGQnk20ZH9x6pTrZ0EwuPO3xMUW8kvoYmqcp0LRYGO5ucI3CjhwWRqiXVvAejC6pBlg9HkTz/s1600/how-conflicker-works.jpg

   อย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งไวรัสตอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ Application viruses และ System viruses
1) Application viruses จะมีผลหรือมีการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ อาทิเช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processeng) หรือโปรแกรมตารางคำนวณ เป็นต้น การตรวจสอบการติดเชื่อไวรัสชนิดนี้ทำได้โดยดูจากขนาดของแฟ้ม (File size) ว่ามีขนาดเปลี่ยนไปจากเดิมมาน้อยแค่ไหน ถ้าแฟ้มมีขนาดโตขึ้น นั่นหมายถึงแฟ้มดังกล่าวอาจได้รับการติดเชื้อจากไวรัสชนิดนี้แล้ว
2) System viruses ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือแพร่กระจายในโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการ(Operating systems) หรือโปรแกรมระบบอื่นๆ โดยไวรัสชนิดนี้มักจะแพร่เชื้อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

   2.1 เวอร์ม (Worm)
เวอร์มหรือมาโครไวรัส (Macro Virus) หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไปเวอร์มเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ใช้มาโครโปรแกรม(Macro Programming) ที่อยู่ในโปรแกรมประยุกต์ในการกระจายหรือแพร่พันธุ์ตัวเอง

   2.2 โลจิกบอมบ์ (Logic bombs) หรือม้าโทรจัน (Trojan Harses)
หมายถึงโปรแกรมซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการทำงานในลักษณะถูกตั้งเวลาเหมือนระเบิดเวลาโลจิกบอมบ์ชนิดที่มีชื่อเสียงหรือมักกล่าวถึง มีชื่อว่า ม้าโทรจัน ซึ่งมีที่มาจากมหากาพย์เมืองทรอยในอดีตของโฮมเมอร์ และถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นชื่อของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้แฝงตัวเองเข้าไปในระบบและจะทำงานโดยการดักจับเอารหัสผ่านเข้าสู่ระบบต่างๆและส่งกลับไปยังเจ้าของหรือผู้ส่ง เพื่อบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าใช้หรือโจมตีระบบในภายหลังโปรแกรมม้าโทรจันสามารถแฝงมาได้ในหลายรูปแบบ

   2.3 ข่าวไวรัสหลอกลวง (Hoax)
เป็นไวรัสประเภทหนึ่งซึ่งมาในรูปของการสื่อสารที่ต้องการให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจผิด มักถูกส่งมาในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ข่าวไวรัสหลอกลวงมักมีผลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก การส่งข้อความต่อๆ กันไปผ่านทางโปรแกรมรับส่งข้อความ หรือห้องสนทนาต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นได้มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเทคนิคและวิธีการหรือจิตวิทยาของผู้สร้างข่าว โดยส่วนใหญ่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จะมีหัวเรื่องที่น่าสนใจ อาจมีการอ้างแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเมื่อผู้รับจดหมายดังกล่าวทำาการส่งไปยังคนอื่นๆ ทำาให้ดูเหมือนมีความน่าเชื่อถือมาขึ้นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขไวรัสหลอกลวงได้แก่ เมื่อได้รับจดหมายประเภทนี้ไม่ควรส่งต่อจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปถึงคนอื่นๆ หรือควรตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องก่อนทำาการส่งต่อไป

   2.4 แนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน (Security Measures)
1) การกำหนดแนวปฏิบัติ (Procedures) และนโยบายทั่วๆ ไปในองค์กร อาทิเช่น
-องค์กรมีนโยบายหรือมาตรการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) บ่อยๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
- มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
-องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพ (Biometric devices) มาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
- มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
- มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ให้ความรู้อย่าสม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการบุกรุกของแฮกเกอร์ (Hackers) หรือแครกเกอร์ (Crakers) รวมถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์เมื่อถูกบุกรุก
- องค์กรควรมีการดูแลและการตรวจตราข้อมูล แฟ้มข้อมูล รวมถึงการสำรองแฟ้มข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงระบบเครือข่าวอย่างสม่ำเสมอ
- การเก็บข้อมูลหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา (Log files)

2) การป้องกันโดยซอฟต์แวร์ (Virus protection software)
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหลายชนิด ทั้งแบบซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และซอฟต์แวร์ที่แจกฟรี
อาทิเช่น
- ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital signatures)
- การเข้าและถอดรหัส (Encryption)


3. ฟิชชิ่ง (Phishing)

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjjTJz6zFKJo6j6l5cRfw9TFYv45OtjfXFmK-Ngg6rUfxhLAJCo5c7Yqv7iQiTHPyvM0kjVkPhtqledkvwjnqAZOOERlEFS9ypSaGh8K6dQcUaZqH5et-TENjGoAVKTupInQWXfYvErYDIb/s1600/Phishing.jpg

   Phishing ออกเสียงคล้ายกับ fishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง โดยผู้ที่ทำการหลอกลวงซึ่งเรียกว่า Phishing จะใช้วิธีการปลอมแปลงอีเมล์ติดต่อไปยังผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นจดหมายจากองค์กร หรือบริษัท ห้างร้านที่ผู้ใช้ทำาการติดต่อหรือเป็นสมาชิกอยู่ โดยในเนื้อหาจดหมายอาจเป็นข้อความหลอกว่ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นและต้องการให้ผู้ใช้ยืนยันข้อมูลส่วนตัวอีกครั้ง ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลส่วนตัวซึ่งเป็นความลับ และมีความสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ระบบ Username รหัสผ่าน Password หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร เป็นต้น หากผู้ใช้ได้รับอีเมล์ลักษณะดังกล่าวและหลงเชื่อดำเนินการตามที่มีอีเมล์ดังกล่าวระบุจะทำาให้ผู้ที่สร้างอีเมล์หลอกลวงขึ้นมานี้ได้รับข้อมูลความลับส่วนตัวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไป และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปดำเนินการต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้

   ส่วนวิธีป้องกันและแนวทางรับมือกับ Phishing มีดังนี้
1) ระวังอีเมล์ที่มีลักษณะในการข้อให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ หรือยืนยันข้อมูลส่วนตัวใด ๆ โดยส่วนใหญ่เนื้อหาในจดหมายจะระบุว่าเป็นจดหมายเร่งด่วนให้ดำเนินการกรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง หากพบอีกเมล์ลักษณะดังกล่าวให้ลบอีกเมล์ดังกล่าวทันทีและอาจใช้การโทรศัพท์ติดต่อกับทางองค์กร บริษัทห้างร้านด้วยตนเองอีกทีหากมีข้อสงสัย
2) หากต้องการทำธุรกรรมใดๆ ควรไปที่โดยตรงโดยการพิมพ์ URL ใหม่
3) ไม่ควรคลิกที่ hyperlink ใดๆ หรือรันไฟล์ใดๆ ที่มากับอีกเมล์ หรือโปรแกรมสนทนาต่างๆ จากบุคคลที่ไม่รู้จัก
4) ควรติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัส และ Firewall เพื่อป้องกันการรับอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการสื่อสารจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
5) ควรติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ (Patch) ของซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เราใช้งานอยู่ตลอดเวลา
6) ในการกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญใดๆ ที่เว็บไซต์หนึ่งๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งเว็บไซต์ที่ปลอดภัยจะใช้โปรโตคอล https:// แทน http://
7) ควรตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคาร บัตรเครดิตต่างๆ ที่มีการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

5. ไฟร์วอลล์ (Firewall)

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhceMIs1CB2uzToqp1F8xhnKmUoZbXrNK2hM60MklRT-vJeJtCvn2w-U9FYRHlCMUbffg92Y7q8ELcOkpV6uSzAMzvfimxqPMXImKJOD4XVaIUmikYWQX408hQ_5Gjw2_Lj74rnggQPe9wa/s1600/Firewall.png

   ไฟร์วอลล์ คือ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบถ้าผู้บุกรุกมาจากเครือข่ายภายในระบบนี้จะป้องกันไม่ได้ สิที่ป้องกัน เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (worm), การโจมตีแบบ Dos (Denial of service), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), ip spoofing ฯลฯ โดยมีลักษณะการบุกรุกดังนี้ เช่น
- Virus จะแย่งให้หรือทำลายทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์ข้อมูล, แรมฯ
-Worm จะแย่งใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่นเขียนไฟล์ขยะลงบนฮาร์ดดิสก์ จนทำให้ฮาร์ดดิสก์เต็มไฟร์วอลล์ มีขีดความสามารถในการไม่อนุญาตการ Login สำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานในเครือข่าย แต่ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ใช้งานจะมีสิทธิ์ใช้งานทั้งภายใน และติดต่อภายนอกเครือข่ายได้ โดยจำกัดข้อมูลจากภายนอกเครือข่าย ไม่ให้เข้ามาในเครือข่าย นับเป็นจุดสังเกตการณ์ตรวจจับและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย เปรียบได้ดังยามที่ทำหน้าที่เผ้าประตูเมือง


6. พร็อกซี่ (Proxy)



   ในระบบ Intranet อาจมี Proxy Server หลายเครื่องก็ได้ ซึ่งอาจมีการแบ่งเป็น Proxy Server สำหรับ Web, Telnet, FTP และการบริการอื่นๆ โดยปกติแล้วบางบริการจำเป็นต้องมี Proxy Server แต่บางบริการก็ไม่จำเป็น ตัวอย่างเช่น การบริการที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนข้อมูล เช่น Telnet และ FTP ควรที่จะต้องมี Proxy Server แต่สำหรับบริการบางอย่างที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เช่น กระแสข้อมูลสื่อประสม (Streaming Multimedia) ก็ไม่สามารถใช้ Proxy Server ได้ เนื่องจาก Proxy Server ยังไม่ได้ถูกปรับปรุงให้รองรับกับบริการบางอย่างที่ถูกพัฒนาขึ้น ดังนั้นผู้ดูแลระบบจะต้องกำหนดเองว่าจะอนุญาตให้บริการเหล่านั้นผ่านเข้าสู่ระบบ Intranet หรือไม่ จนกว่า Proxy Server จะได้รับการปรับปรุงให้รองรับกับบริการเหล่านั้น

7. คุ้กกี้ (Cookies)


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjqAEmMwU3bR80GC2r-YYvgg8EGFSqYvJHL05NbDt9c5UgPEUQjVfksYBBuUbb1P-pAaVrpKLugsmLdm_TL1k-OAphGbkBuVoWZhBuWcUncG1hlCcBMFbI-WtuWdbdeoyOXgJCVGpLHqPek/s1600/cookie.gif

   Cookie คือแฟ้มข้อมูลชนิด Text ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำการจัดเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ของผู้ที่ไปเรียกใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ Cookie นี้จะเป็นข้อมูลที่เราเข้าไปป้อนข้อมูล เช่น ข้อมูลชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล์ ชื่อผู้ใช่ รหัสผ่าน หรือแม่แต่ รหัสบัตรเครดิตการ์ด ของเราเอาไว้ที่ไฟล์นี้ ซึ่งแต่ล่ะเว็บไซต์ เมื่อเราเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ในครั้งถัดๆ ไป ก็สามารถดูข้อมูลจาก Cookie นี้เพื่อให้ทราบว่าผู้ที่เข้าใช้เป็นใคร และมีข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้าง
  เมื่อเราเข้าใช้งานในเว็บไซต์ใดๆ ข้อมูล Cookies ถูกเคลื่อนย้ายโดยวิธีการดังต่อไปนี้
- เมื่อเราพิมพ์ URL ของเว็บหนึ่ง ไปยังโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ เพื่อร้องขอให้เว็บไซต์นั้นแสดงเว็บเพจบนเซ้บเบราเซอร์ที่เราใช้งานอยู่
- โปรแกรมเว็บเบราเซอร์จะทำการตรวจสอบที่ฮาร์ดดิสก์ ว่ามีไฟล์ Cookie ที่เว็บไซต์นั้นเคยเก็บไว้หรือไม่ ถ้าพบไฟล์ Cookie ที่เว็บไซต์นั้นสร้างไว้ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์จะทำการส่งข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ Cookie นั้นไปยังเว็บไซต์นั้นด้วย
- ถ้าหากไม่มีไฟล์ Cookie ส่งไปให้กับเว็บไซต์ เว็บไซต์นั้นก็จะทราบว่าผู้ใช้พึ่งเคยเข้ามาใช้งานเว็บไซต์เป็นครั้งแรก เว็บไซต์ก็จะสร้างข้อมูลชนิด Text ซึ่งมีข้อมูลหมายเลขที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยเว็บไซต์และอาจมีข้อมูลอื่นๆ แล้วส่งมาเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ของผู้ใช้
- ในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ครั้งต่อๆ ไปเว็บไซต์ก็สามารถที่จะทำการเพิ่มเติมข้อมูลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลในไฟล์ Cookie นี้ได้ประโยชน์ของ Cookies
- เว็บไซต์สามารถใช้ประโยชน์จาก Cookie เพื่อให้ทราบจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์เพราะผู้ใช่แต่ละคนจะถูกกำหนดหมายเลขไว้จากเว็บไซต์ ซึ่งทางเว็บไซต์ก็สามารถทราบได้ว่าเป็นผู้ใช่เก่าหรือใหม่ และผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้เว็บไซต์บ่อยแค่ไหน
-เว็บไซต์ที่มีการซื้อขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ สามารถที่จะตรวจสอบได้ว่าผู้ใช้เลือกซื้อสินค้าอะไรบ้าง ซึ่งผู้ใช้อาจยังไม่ต้องการจัดการเรื่องการสั่งซื้อในวันนั้นข้อมูลสินค้าที่ผู้ใช้เลือกไว้ก็สามารถถูกจัดเก็บไว้ที่ Cookie ก่อนเมื่อผู้ใช้เข้าใช้งานในครั้งถัดไปข้อมูลสินค้าที่เลือกไว้ ก็จะปรากฏขึ้นมาให้โดยไม่ต้องทำาการเลือกใหม่อีก
   ข้อควรระวังที่เกี่ยวกับ Cookies
เนื่องจากข้อมูลที่ถูกเก็บใน Cookie อาจมีข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลที่อยู่ ข้อมูลอีเมล์ ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งกลับไปมาระหว่างเครื่องผู้ใช้และเว็บไซต์ ซึ่งอาจมีการขโมยข้อมูลจากบุคคลอื่นได้ในระหว่างการถ่ายโอนไฟล์ ซึ่งผู้ใช้ควรระมัดระวังในการให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่เว็บไซต์


8. มาตรการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามด้านจริยธรรม


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhdLuFZFAIgEr_3dHClZoPkMcwBbWmKccMgdi1f0f5O-izBDWtCoGEkPyMClz6vjWqK3FemvJkkJ0cEig-tnapLYdgMdrTL3dgGnEIlMovBst3DhuMkAPS4bvjbgb74fsqARn_ILFnn-7qF/s1600/image001_0.jpg

   นโยบายจากกระทรวงไอซีที ด้วยตระหนักในการทวีความรุนแรงของปัญหา จึงเกิดโครงการ ไอซีที ไซเบอร์แคร์ (ICT Cyber Care) โดยต่อยอดจากไอซีทีไซเบอร์คลีน (ICT Cyber Clean) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1)ICT Gate Keeperเฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูบไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
2) House Keeper ซึ่งจัดทำาเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
-ส่วนแรกคิดดี้แคร์ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
-ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีนติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
-ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็กๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
   โปรแกรมนี้จะพอช่วยบรรเทาปัญหาและเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตจาผองภัย เช่น กลุ่มเว็บโป้ ลามกอนาจาร กลุ่มเว็บกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ กลุ่มเว็บสอนใช้ความรุนแรง ทารุณ สอนเพศศึกษาแบบผิด ๆ ใช้ภาษาหยาบคาย สอนขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์ เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น