วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ


1. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
          พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ใยแก้วนำแสง ดาวเทียมสื่อสาร ระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์
และมัลติมีเดีย กอปรกับราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกลง แต่มีขีดความสามารถในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ นั้นมีมากขึ้นเป็นลำดับ
   ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

แนวคิด 
      เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รวบรวม ประมวล เก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศ ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่รวมทั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) และ 2) เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่าฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่าซอฟต์แวร์ (Software)
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjTUyVEPY3cTd44Wyosp3MEMauuXzotcq4dkF8DnfrKoq25PAp7Q-feQgdxIhfPvx7_oB8Knz_O1XJuStQT_m9L9WMk-6VS0f-XeItiAIO9BMeSDwmqtDxdXgq9LpFo_lONz6ecvnqmeJTT/s1600/ict4.jpg



1) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ส่งข้อมูล หน่วยประมวลผลก
ลาง หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรอง
- อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจ
กวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่าน
บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
- อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
- หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดย
ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
- หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และ
ผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
- หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjDJ7Q7QEaIhFTAjw6tKaRi2gj5t_uhR1KimAHm02dzx4XDFHDap87FF6lpVibjbqCCJ3B5tId_LuBbTKYCJGkwWu0sOxo1aYZMq0f5-vtAs6az_F9JJcBLsLVY3tpsp1LY0i3QayLg-9jL/s320/HARDWARE_1.jpg



2) ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่อง
     คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX,DOS, MicrosoftWindows
-โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
-โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป ไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์
ของการนำไปใช้
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Managementและซอฟต์แวร์เกมต่างๆ เป็นต้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj9hukIrL9KD6A0qHB92oK9Dv47B3t3vGdssd0VTeuXNXyoOauRCwUrYlLErgsxGU-xYIkK3J_jCupiHPDwR4kd00oM0w7iUL84riPxAJcjOU2kgaCTQ4wDTfxbzYAUu-24TvMVwzN6g-K4/s320/Computer-Software.png

1.2 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
     ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) ตัวอย่าง เช่น การส่งข้อมูลต่าง ๆ ของยานอวกาศที่อยู่นอกโลกมายังเครื่องคอมพิวเตอร์บนโลก เพื่อทำการคำนวณและประมวลผล ทำให้ทราบปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้นสำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhkN04Q77Z83M5NGlg33Ftc3L0zAg7LLYnTsuAjQ7jg1xFLZAlQpjkX3meS1MhvjQtPvN-1WHijPEcCHWDiqJIa78NfRd1nmIoKwUk0EOerMxb7QYZ7eodKblTuRQypgwKSeDcaQiljDXfL/s320/%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%258C%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594.png
ภาพประกอบ 4.2 กลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบดังนี้ต่อไปนี้ คือ

1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ,กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์,เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก,จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3) เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6)เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์,วิทยุกระจายเสียง,โทรเลข,เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างสิ่งใหม่ให้กับสังคมปัจจุบันที่เรียกว่าเป็นสังคม ไร้พรมแดนหรือสังคมโลกาภิวัตน์ (Globalization)ไว้มากมาย เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet), ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway), ระบบทีวีตามความต้องการ (Video On Demand), การประชุมผ่านทางจอภาพ (Video Conference), พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce), ระบบการเรียนทางไกล (Tele Education), โทรเวช (Tele Medicine),ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปรษณีย์ภาพ (Video Mail), โทรทัศน์แบบมีการโต้ตอบ (InteractiveTV), ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library), ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น


2.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
http://images.thaiza.com/17/17_20101229144111..jpg

      วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้น มีความเป็นมาที่ยาวนาน
มากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก หากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทัน ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ    เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้
    การวิวัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร ซึ่งจะหมายรวมถึงลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสาร



วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ


1. ความหมาย
    ในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งสารสนเทศ บุคคลในสังคมจำเป็นต้องรับข้อมูลข่าวสารอย่างท่วมท้น บุคคลทุกคนจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องคนในสังคมปัจจุบันจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อการเท่าทันในข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย สังคมปัจจุบันจึงเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การศึกษาต้องมุ่งเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการเรียนรู้ของบุคคล และพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่บุคคลในสังคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถนำความรู้ไปใช้ในสังคมได้อย่างยั่งยืน นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า การรู้สารสนเทศครอบคลุม การมีพฤติกรรมเข้าถึงสารสนเทศที่เหมาะสมอย่างมีความคิดและจริยธรรม โดยผ่านช่องทางหรือสื่อใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศตามความต้องการ (SUNY Council of Library Directors Information Literacy Innitiative,2003) ซึ่งสรุปได้ว่า การรู้สารสนเทศ หมายถึงการรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ (ข้อมูลข่าวสาร) การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ การสรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสารการพัฒนาเจตคตินำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตดังนั้นการรู้สารสนเทศของบุคคล จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงสารสนเทศจากทั่วทุกมุมโลก และนำสารสนเทศออกเป็นความรู้ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการเรียนรู้ของทุกคนอย่างแท้จริง
2. ความเป็นมา
    จากวรรณคดีและงานวิจัยจากองค์กรและสถาบันต่างๆ ได้แก่ American Association of School Librarians & Association for Educational Communications and Technology (2004) และ The Big 6 Center for Media Literacy National Skills Standard Board (Eisenberg and Berkowitz (2005) สามารถจำแนกทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 ได้เป็น 4 ลักษณะคือ
1.ทักษะสารสนเทศและการสื่อสารได้แก่ ทักษะการรู้สารสนเทศและการรู้สื่อ ทักษะการสื่อสาร 
2.ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ และการคิดเป็นระบบ การระบุปัญหาการดำเนินการและแนวทางการแก้ปัญหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความใฝ่รู้เชิงปัญญา
3.ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง ได้แก่ ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการประสานร่วมมือ การชี้นำตนเอง การเป็นที่น่าเชื่อถือ และการปรับตัว 
4.การรับผิดชอบต่อสังคมจากทักษะการเรียนรู้ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าทักษะการรู้สารสนเทศเป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเรียนรู้ในทศวรรษนี้การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) เป็นคำที่พบในบริบทต่างๆ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาออสเตรเลีย และประเทศอังกฤษ ซึ่งในประเทศอังกฤษนั้นได้ใช้คำว่า ทักษะสารสนเทศ (Information Skills)การรู้สารสนเทศหรือทักษะสารสนเทศเกิดขึ้นในราวต้นคริสต์ศักราช 1974และได้ใช้คำทั้งสองร่วมกันและบางครั้งได้ใช้ในความหมายเดียวกัน โดยที่การรู้สารสนเทศครอบคลุม ความสามารถในการเข้าถึง การกำหนด การประเมินและการใช้สารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งความสามารถเหล่านี้ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดจากผลของยุคสารสนเทศ หากเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความสำเร็จ และคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน ในอดีตที่ผ่านมา การรู้สารสนเทศได้ถูกจำกัดในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือ วิทยุ และวารสาร เป็นต้น หากในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ การรู้สารสนเทศนี้มิได้ถูกจำกัดให้อยู่ในรูปแบบของสื่อดังกล่าวเท่านั้น สารสนเทศได้ถูกขยายขอบเขตไปยังสื่อที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ซีดีรอม ฐานข้อมูลออนไลน์ อินเทอร์เน็ต ข้อมูลมัลติมีเดีย และเอกสารในรูปแบดิจิตอล เป็นต้น ทำให้ความสามารถในการรู้สารสนเทศต้องผสมผสานทักษะด้านการค้นคว้า การประเมินความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งต้องมีความสามารถในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ให้เข้ากับความรู้เดิมที่มีอยู่ รวมทั้งความสามารถในการใช้สารสนเทศให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ผสมผสานความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจวัฒนธรรม กฎหมาย และการเมือง

http://school.obec.go.th/pasatwit/Di_li/content/comp/comp_web/lesson3/img1/it_system3.gif

3. องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
    องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศประกอบด้วย ความเข้าใจ และความสามารถส่วนบุคคลที่ตระหนัก
ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ โดยต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
    1)ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถทางกายภาพ และสติปัญญาในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สามารถระบุแหล่งและสืบค้น ด้วยการใช้ความรู้และกลยุทธ์เพื่อคัดสรร แก้ไข วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสาร กับฐานข้อมูลทั่วไป และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นซีดีรอม อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  2)ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความสามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการประเมินสารสนเทศ
    3) ความสามารถในการใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยความเข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ รวมถึงมารยาทการใช้สารสนเทศ และประสิทธิภาพในการจัดการสารสนเทศที่สืบค้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


http://neung.kaengkhoi.ac.th/workm.4_m62551/m4_5/sunisa/pic/itall.gif

4. คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
      SUNY Council of Library Directors Information Literacy Initiative (2003) ได้ เสนอคุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศของบุคคลดังนี้
1) ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
2) สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
3) เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
5) นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
6) มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
7) เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายในหารใช้สารสนเทศ
8) เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
9) แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
10) ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

http://jirapornn.exteen.com/images/1.jpg


5. มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ
    American Association of School Librarians & Association for Educational Communications and Technology (2004) ได้เสนอมาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศไว้ 3 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ มาตรฐานทั่วไปประกอบด้วย มาตรฐานที่1-3 การเรียนรู้อย่างอิสระประกอบด้วยมาตรฐานที่ 4-6 และความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วยมาตรฐานที่7-8 ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างมีความสามารถ
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
มาตรฐานที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่าง ๆ และนำเสนอสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ ต้องมุ่งแสวงหาสารสนเทศ และสร้างองค์ความรู้อย่างยอดเยี่ยม ความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ


6. แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
    แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีหลายแนวทาง หากแนวทางที่มีรูปธรรมชัดเจนจากประเทศ
สหรัฐอเมริกา คือ TheBig 6 Skills Model ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาชื่อ Mike Eisenberg และ BobBerkowitz(2001-2006) โดยได้นำไปใช้ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการนำไปประยุกต์เพื่อการเรียนการสอนทักษะสารสนเทศในสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนด ภาระงาน (Task Definition) เป็นการระบุปัญหา หรือกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการใช้ และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ (Information Seeking Strategies) เป็นการกำหนดว่าแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศที่ต้องการ และประเมินความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศกับปัญหาที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น เพื่อให้สารสนเทศได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ (Location and Access)เป็นการระบุแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศและค้นหาสารสนเทศตามแหล่งสารสนเทศที่ได้กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 4 การใช้สารสนเทศ (Use of Information) เป็นการอ่าน พิจารณาสารสนเทศที่ต้องการและคัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นไดจากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ
ขั้นตอนที่ 6 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ

    สำหรับในประเทศงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย (อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ, 2550) ได้สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทยขึ้นโดยมีพื้นฐานจาก The Big 6 Skills Model ดังกล่าวข้างต้น มี 4 ขั้นตอนได้แก่
1) กำหนดภารกิจคือต้องการรู้อะไรปัญหาหรือข้อสงสัยคืออะไร
2) ตรงจุดเข้าถึงแหล่งคือการหาคำตอบว่าอยู่ที่ไหน มีวิธีเข้าถึงและการใช้แหล่งความรู้ได้อย่างไร
3) ประเมินสารสนเทศ คือ การคัดสรรสารสนเทศอย่างไรให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการรู้ และน่าเชื่อถือ
4)บูรณาการวิถีการใช้งาน คือ การมีวิธีใดใช้ในการนำสิ่งที่ค้นพบมาสรุป นำเสนอและสื่อสารกับผู้อื่นประยุกต์ใช้แก้ปัญหาใช้อย่างมีจรรยาบรรณและถูกกฎหมาย

http://cec.cc.swu.ac.th/Portals/122/Picture/header-2010.jpg


7.ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ
   จากผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย (อาชัญญา รัตนอุบลและคนอื่นๆ, 2549) พบว่ารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ 4 ขั้นตอนคือ กำหนดภารกิจ ตรงจุดเข้าถึงแหล่ง ประเมินสารสนเทศ และบูรณาการวิถีการใช้งาน ได้ถูกนำไปใช้ โดยส่วนใหญ่ผู้สอนเริ่มเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้เรียนของตน และพยายามคิดค้นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้เหมาะสมกับธรรมชาติและบริบทของแต่ละท้องถิ่oโดยผู้สอนได้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สารสนเทศทั้งในสถาบันการศึกษาและในชุมชนสำหรับความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสุขและชอบการเรียนสารสนเทศ โดยเฉพาะขั้นตรงจุดเข้าถึงแหล่ง เพราะได้มีโอกาสแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ได้ตามที่ตนต้องการ โดยผู้เรียนกำหนดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆทั้งจากโลกแห่งความเป็นจริงภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา และโลกของอิเล็กทรอนิกส์
     ดังนั้น การศึกษานอกโรงเรียนควรต้องเน้นกระบวนการพิจารณาคุณค่าของการรู้สารสนเทศ
เพื่อเป็นแกนการเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ในบริบทของชีวิตแต่ละบุคคล การศึกษานอกโรงเรียนต้องมุ่งให้บุคคลรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ การสรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาเจตคติที่นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อนำไปสู่การรู้สารสนเทศอย่างแท้จริง
http://suparug.files.wordpress.com/2012/07/whyemail.gif




วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

1. บทนำ

         การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอย่างมาก เทคโนโลยีและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมทั้งด้านความเป็นอยู่การสื่อสารการทำงานการคมนาคมและขนส่งธุรกิจและอุตสาหกรรมการแพทย์วัฒนธรรมและการศึกษา (C. and Huchinson. 2000)
          ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลงหรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)”ทำให้การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลกและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น“สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Society)” หรือ “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Community)”(พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. 2553)

2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
   ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้าเพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและปกครอง จนถึงเรื่องเบาๆ เรื่องไร้สาระบ้าง เช่น สภากาแฟที่สามารถพบได้ทุกแห่งหนในสังคม เรื่องสาระบันเทิงในยามพักผ่อน ไปจนถึงเรื่องความเป็นความตาย เช่น ข่าวอุทกภัย วาตภัย หรือการทำรัฐประหารและปฏิวัติ เป็นต้น

     ในปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของไทยมีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับสังคมโลก ประมาณการว่า ในปี พ.ศ. 2536 การส่งออกมีมูลค่าขยายตัวถึงร้อยละ 12.8 ที่ 920 พันล้านบาท ขณะที่การนำเข้ามีอัตราขยายตัวถึงร้อยละ 12.7 ด้วยมูลค่า 1,150 พันล้านบาท การส่งออกที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 13.2 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศในปี พ.ศ. 2515 ได้เติบโตอย่างต่อเนื่องจนมีขนาดเป็นร้อยละ 37.9 ในปี พ.ศ.2535ย่อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ และในทำนองเดียวกันของ เทคโนโลยีกลุ่มนี้ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศคือ การอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูสารสนเทศจำนวนมากมายนั่นเอง ตั้งแต่การสืบและสอบถามสินค้าและราคา การเจรจาตกลงราคา การหาวัตถุดิบสำหรับการผลิต การว่าจ้างและการรับช่วงผลิต การว่าจ้างขนส่งสินค้า การประกันวินาศภัย การแจ้งหรือการส่งมอบสินค้า และรายละเอียดเที่ยวบินหรือเรือเดินสมุทรที่ขนย้ายสินค้า รวมถึงการดำเนินการทางพิธีการศุลกากรจนถึงการโอนเงินระหว่างประเทศ ฯลฯ การแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมาก ระหว่างองค์กรหลากหลายในแต่ละครั้งของการซื้อขาย จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วยข้อมูลที่แม่นยำและในอัตราค่าบริการที่ต่ำเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในเชิงแข่งขันระหว่างประเทศ
  ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้


1)ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการสำหรับการเก็บการประมวลและการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
2)ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆทั้งคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมติดตามตัวได้เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน(miniaturization)และพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย
3)ประการท้ายที่จัดว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้คือทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge)ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้จึงให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่นๆที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สำคัญอีกหลายกลุ่มดังเช่นกลุ่มประเทศOECD(Organization for EconomicCooperation and Development)ได้ศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศเทคโนโลยีนิวเคลียร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่
1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
3) การยอมรับจากสังคม
4) การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพ
สูงสุดในทุกๆ ประเด็น
             ในสหรัฐอเมริกาก็เช่นกัน มีการศึกษาวิเคราะห์ถึงขีดความสามารถในเชิงแข่งขันเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นในเทคโนโลยีกลุ่มไฮเทคที่สำคัญต่อประเทศ 11 ชนิดด้วยกัน ปรากฏว่า 8 ชนิดจากทั้งหมด 11ชนิด จัดเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งโดยตรงหรือเป็นส่วนประกอบ จะยกเว้นเพียง 3ชนิดคือ เวชภัณฑ์ยา เครื่องบิน และวัสดุใหม่เท่านั้น ประเทศเหล่านี้จึงมีแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจัง และได้ทุ่มงบประมาณมากมายมหาศาล เพื่อการพัฒนานี้ จึงเป็นที่คาดกันว่าวิวัฒนาการของ เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก

3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
     เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กำลังพัฒนาเพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจแลอุตสาหกรรมแต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน (การศึกษาและ การสาธารณสุข ฯลฯ) ในการบริหารประเทศ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

        เป็นที่ประจักษ์ว่าการใช้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถจะเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ในด้านต่างๆแม้ว่าหากมองเฉพาะในขอบเขตของงานนั้นๆ ระบบคอมพิวเตอร์ อาจจะลดปริมาณการว่าจ้างงานเปรียบเทียบกับเมื่อไม่ใช้เทคโนโลยี แต่หากมองโดยรวมแล้ว การที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนสำคัญ ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ย่อมส่งผลให้เกิดการสร้างงานที่เพิ่มตามมา ข้อมูลในประเทศสหรัฐฯ ตลอดกว่าศตวรรษที่ผ่านมา พบว่าการจ้างงานมิได้ลดลงจากการใช้เทคโนโลยี เริ่มต้นจากเครื่องจักรไอน้ำจวบจนเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน แต่กลับเพิ่มถึง 10 เท่าตัว จาก 12 ล้านคนในปี1870 เป็น 116 ล้านในปี 1985 คิดเป็นอัตราส่วนจากร้อยละ 31 เป็นร้อยละ 48 ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นหรือจะเกิดในอนาคตสืบเนื่องจากเทคโนโลยีนี้ ก็ยังจะนำไปสู่การสร้างงานใหม่ๆ ตามมามากมายอีกด้วย เป็นต้นว่า ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ว่าบริการโทรคมนาคมไร้สายต่างๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศสหรัฐฯ จะสามารถสร้างงานเพิ่มขึ้นถึง 3 แสนคน ภายในระยะ10-15 ปีข้างหน้า
      เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจบันเทิงจะเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวความคิด ความอ่านของผู้คนในสังคม เพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิงได้รับอิทธิพลทางความคิดจากผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในวงบันเทิง และยอมรับสถานภาพว่าตนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ การถ่ายทอดแนวความคิดระหว่างบุคคลในสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมนั่นเอง

    แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระยะต่อไปจะเปดิ โอกาสให้มีกีารสื่อข่าวสารจากจุดต่าง ๆ ได้เ พิ่ม ขึน้จากเดิมมากดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่คาดกันไว้ว่า จะมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่งเราอาจจะได้ความหลากหลายกลับคืนมา แต่ความหลากหลายนี้คงจะมีลักษณะแตกต่างจากที่เคยมีอยู่เดิมอย่างแน่นอน

4.สารสนเทศกับบุคคล
    การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่ม
มากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้องและนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย
  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ (ATM: Automatic Teller Machine)ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Banking)การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (e-Commerce) การประชุมทางไกล (Tele-Conference) การศึกษาทางไกล (Tele-Education) ระบบห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) การเข้าถึงบริการและสารสนเทศต่างๆผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

5. สารสนเทศกับสังคม
   สารสนเทศนอกจากมีความสำคัญต่อตัวบุคคลดังที่กล่าวมาแล้วยังมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ (ธนู บุญญานุวัตร. 2550) ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม
5.1 ด้านการศึกษา
    การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำ
ช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ถูกต้องจากหลายแขนงวิชามาพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
5.2 ด้านสังคม
    สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เราใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งการประกอบอาชีพการป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิต สารสนเทศช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ได้รับให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
5.3 ด้านเศรษฐกิจ
    สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้
(Knowledge-based Economy)หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความรู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน ทั้งนี้เพราะสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด
5.4 ด้านวัฒนธรรม
   สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยมทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงในชาติ



6. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
      ขณะนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพประชาชนโดยเน้นที่การศึกษา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดนโยบายว่าในปี 2000ทุกโรงเรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนห้าคน และทุกห้องเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ ส่วนสิงคโปร์ก็ประกาศนโยบายว่าโรงเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนสองคนในปี 2002จะเห็นได้ว่าหลายประเทศรีบเร่งในการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เป็นระบบกลางที่มีราคาถูกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน
    วิธีการดังกล่าวจะอาศัยแหล่งความรู้และสารสนเทศจากทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน เพราะการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความจำเป็นต่อทุกคน ทั้งต่อการพัฒนาตนเองนำไปสู่การพัฒนาการงานอาชีพ และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คนจะพัฒนาตนเองได้ต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ถ้ามีแหล่งความรู้ให้ศึกษาค้นคว้า มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งทอดความรู้ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงความรู้ และรู้จักวิธีแสงหาความรู้ เขาก็จะเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ดังนั้นทุกประเทศในโลกจึงปรารถนาจะเห็นคนของตัวเองได้เป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอตลอดชีวิต ความคิดนี้ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งสู่ความคิดที่ว่า ถ้าช่วยกันทำให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุน สังคมก็จะเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้”(LearningSociety)เพราะทุกส่วนทุกฝ่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้ให้และผู้รับความรู้ความคิดเรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้เริ่มเป็นที่กล่าวถึงและยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง