วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ


1. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
          พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ใยแก้วนำแสง ดาวเทียมสื่อสาร ระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์
และมัลติมีเดีย กอปรกับราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกลง แต่มีขีดความสามารถในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ นั้นมีมากขึ้นเป็นลำดับ
   ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

แนวคิด 
      เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รวบรวม ประมวล เก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศ ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่รวมทั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) และ 2) เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่าฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่าซอฟต์แวร์ (Software)
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjTUyVEPY3cTd44Wyosp3MEMauuXzotcq4dkF8DnfrKoq25PAp7Q-feQgdxIhfPvx7_oB8Knz_O1XJuStQT_m9L9WMk-6VS0f-XeItiAIO9BMeSDwmqtDxdXgq9LpFo_lONz6ecvnqmeJTT/s1600/ict4.jpg



1) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ส่งข้อมูล หน่วยประมวลผลก
ลาง หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรอง
- อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจ
กวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่าน
บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
- อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
- หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดย
ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
- หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และ
ผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
- หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjDJ7Q7QEaIhFTAjw6tKaRi2gj5t_uhR1KimAHm02dzx4XDFHDap87FF6lpVibjbqCCJ3B5tId_LuBbTKYCJGkwWu0sOxo1aYZMq0f5-vtAs6az_F9JJcBLsLVY3tpsp1LY0i3QayLg-9jL/s320/HARDWARE_1.jpg



2) ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่อง
     คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX,DOS, MicrosoftWindows
-โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
-โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป ไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์
ของการนำไปใช้
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Managementและซอฟต์แวร์เกมต่างๆ เป็นต้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj9hukIrL9KD6A0qHB92oK9Dv47B3t3vGdssd0VTeuXNXyoOauRCwUrYlLErgsxGU-xYIkK3J_jCupiHPDwR4kd00oM0w7iUL84riPxAJcjOU2kgaCTQ4wDTfxbzYAUu-24TvMVwzN6g-K4/s320/Computer-Software.png

1.2 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
     ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) ตัวอย่าง เช่น การส่งข้อมูลต่าง ๆ ของยานอวกาศที่อยู่นอกโลกมายังเครื่องคอมพิวเตอร์บนโลก เพื่อทำการคำนวณและประมวลผล ทำให้ทราบปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้นสำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhkN04Q77Z83M5NGlg33Ftc3L0zAg7LLYnTsuAjQ7jg1xFLZAlQpjkX3meS1MhvjQtPvN-1WHijPEcCHWDiqJIa78NfRd1nmIoKwUk0EOerMxb7QYZ7eodKblTuRQypgwKSeDcaQiljDXfL/s320/%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%258C%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594.png
ภาพประกอบ 4.2 กลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบดังนี้ต่อไปนี้ คือ

1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ,กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์,เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก,จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3) เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6)เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์,วิทยุกระจายเสียง,โทรเลข,เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างสิ่งใหม่ให้กับสังคมปัจจุบันที่เรียกว่าเป็นสังคม ไร้พรมแดนหรือสังคมโลกาภิวัตน์ (Globalization)ไว้มากมาย เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet), ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway), ระบบทีวีตามความต้องการ (Video On Demand), การประชุมผ่านทางจอภาพ (Video Conference), พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce), ระบบการเรียนทางไกล (Tele Education), โทรเวช (Tele Medicine),ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปรษณีย์ภาพ (Video Mail), โทรทัศน์แบบมีการโต้ตอบ (InteractiveTV), ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library), ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น


2.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
http://images.thaiza.com/17/17_20101229144111..jpg

      วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้น มีความเป็นมาที่ยาวนาน
มากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก หากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทัน ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ    เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้
    การวิวัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร ซึ่งจะหมายรวมถึงลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสาร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น